การระเหิด




       คือ ปรากฏการณ์ที่สสารเปลี่ยนสถานะจาก ของแข็ง กลายเป็นไอหรือก๊าซ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลว โดยไม่ผ่านสถานะ ของเหลว
การเกิด
เมื่อลดความดันลงจนถึงจุดสมดุล ระหว่างสถานะของแข็งและก๊าซ จะเกิดการระเหิดของอนุภาคของสารนั้น การระเหิดเกิดขึ้นได้เพราะอนุภาคในของแข็งมีการสั่น และชนกับอนุภาคข้างเคียงตลอดเวลา ทำให้มีการถ่ายเทพลังงานจลน์ระหว่างอนุภาค เช่นเดียวกับในของเหลวและก๊าซ
ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหิด
1.อุณหภูมิ อัตราการระเหิดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิ
2.ชนิดของของแข็ง ของแข็งที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยจะระเหิดได้ง่าย
3.ความดันของบรรยากาศ ถ้าความดันของบรรยากาศสูงของแข็งจะระเหิดได้ยาก
4.พื้นที่ผิวของของแข็ง ถ้ามีพื้นที่มากจะระเหิดได้ง่าย
5.อากาศเหนือของแข็ง อากาศเหนือของแข็งจะต้องมีการถ่ายเทเสมอ เพื่อป้องกันการอิ่มตัวของไอ
สารที่ระเหิดได้
- แนฟทาลีน (ลูกเหม็น)
- คาร์บอนไดออกไซด์ (น้ำแข็งแห้ง)

- การบูร
- พิมเสน

ที่มา : http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/final54



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น